Search
AQLI
In the News

March 5, 2022

งานวิจัย ชี้คนไทยเผชิญ “มลพิษอากาศ – PM2.5” หนัก ทำอายุสั้นลง เกือบ 2 ปี

ผลศึกษา Air Quality Life Index (AQLI) มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ พบ คนไทยเผชิญมลพิษทางอากาศหนักกว่าเกณฑ์ที่ WHO กำหนดถึง 5 เท่า ห่วงยิ่งปล่อยไว้ ไม่แก้จริงจัง ประชาชนเจอปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น อายุสั้นลง
By
Orawan Sukko

วานนี้ (4 มี.ค.65) Thailand Can, เครือข่ายอากาศสะอาด จัดเวทีเสวนาออนไลน์ เปิดพื้นที่การศึกษาและปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพจากไทยและต่างประเทศ ผลักดันให้รัฐบาลทุกประเทศให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศในหัวข้อ “สู้เพื่อลมหายใจของเรา ร่วมกันสร้างอากาศที่จะหายใจได้อีกครั้ง” มีวิทยากรจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมเสนอข้อมูลทางวิชาการ

Dr.Kenneth Lee ผู้อำนวยการ Air Quality Life Index (AQLI) มหาวิทยาลัยชิคาโก  ซึ่งศึกษาเรื่องมลพิษทางอากาศหลายปีที่ผ่านมา พบว่า อายุของประชากรลดลงเมื่อฝุ่น PM2.5 เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นปัญหาของทั่วโลก ซึ่งพบมากสุดที่ South Asia, South east Asia, และ Asia โดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่พัฒนา จะไม่ตระหนักกับปัญหานี้และความเชื่อมโยงของ PM2.5 ยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Dr.Kenneth Lee ผู้อำนวยการ Air Quality Life Index (AQLI) มหาวิทยาลัยชิคาโก

การพัฒนา AQLI  จึงเริ่มขึ้น และเริ่มจากการศึกษาระดับมลพิษทางอากาศจากทั่วโลก จากนั้นเอาข้อมูลดังกล่าวมาตอบคำถามที่ว่า หากสามารถปรับปรุงและลดปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แล้ว จะช่วยคืนอายุขัยให้ประชากรได้มากน้อยแค่ไหน

ในปี 2020 ระดับมลพิษในประเทศไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2019 ถึง 10.8% ส่งผลให้ไทย อยู่ในอันดับ 4 ของภูมิภาค และเมื่อดูในระยะยาวจะเห็น ว่า ระดับ PM2.5 ในไทยเพิ่มขึ้น 22.7% จากปี 2000 และอยู่ในระดับที่สูงกว่า Guideline ของ WHO ถึง 5 เท่า เจาะลึกลงในระดับภาค จะเห็นว่า ภาคเหนือเป็นภาคที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุด ตามมาด้วยภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ส่วนแหล่งกำเนิด PM2.5 ในประเทศไทย หลัก ๆ มาจากมลพิษจากยานพาหนะ โรงงาน และการเผาทางการเกษตร 

“หากมองถึงผลกระทบต่ออายุขัยของประชากร ปัญหามลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่ออายุขัยมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ การแก้ปัญหาทำได้จริง แต่ต้องทำในระดับนโยบาย ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วในประเทศจีน เมื่อทำจริงจัง”

มลพิษทางอากาศ บั่นทอนสุขภาพ – อายุสั้นลง

ผู้อำนวยการ AQLI มหาวิทยาลัยชิคาโก บอกด้วยว่า มีการวิจัยในประเทศจีนเกี่ยวกับอายุขัยที่ลดลงของการเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM2.5 และนำมาเทียบเคียงกับประเทศไทย จะเห็นว่า หากไทยสามารถลดระดับมลพิษลงได้ 40% จะสามารเพิ่มอายุขัยเฉลี่ยให้ประชากรไทยได้ โดยเฉลี่ยคนละประมาณ 1 ปี  ถ้าภาคเหนืออยู่ที่ 1.3 ปี กล่าวโดยสรุปคือ คนไทย 68 ล้านคน อาศัยอยู่ในพื้นที่ทีมีมลพิษทางอากาศสูงกว่าที่ WHO แนะนำ อายุขัยของประชากรไทย ปัจจุบันถูกลดลงถึง 1.8 ปี ด้วยปัญหาดังกล่าว

Continue Reading at Thai PBS…